จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554

" สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๕ "

http://www.youtube.com/watch?v=Xl21WDfF3SQ&feature=youtu.be


การใช้โปรแกรม Windows Movie Maker 
      1. เข้าไปที่ Manu Start

     2. เลือกไปที่ Program File
     3เลือกไปที่โปรแกรม Windows Movie Maker 
     4. เลือกภาพที่ต้องการจะตัดต่อโดยเลือกที่ Manu Import Pictures
     5เลือกไปยัง File ที่จัดเก็บรูปภาพไว้
      6. จะปรากฏ File ต่างๆ ที่จัดเก็บไว้
      7. เลือก File รูปภาพที่ต้องการตัดต่อ
      8. เลือก Import
    9. จากนั้นให้เลือกภาพที่ต้องการตัดต่อมาวางที่ Show storyboard โดยรูปภาพที่ต้องการตัดต่อนั้นให้วางตรงช่อง Video โดยการใช้เม้าล์คลิกแช่ไว้ตรงรูปภาพที่ต้องการแล้วลากมาตรงช่องVideo
     10. วิธิการเพิ่ม Video Effects ในภาพที่ต้องการตัดต่อโดยการคลิกเม้าล์ด้านซ้ายมือตรงภาพที่เลือกที่จะตัดต่อ จะมี Manu ปรากฎขึ้นให้เลือก Video Effects
     11. หลังจากที่เลือก Video Effects บนหนาจอจะโชว์ Effects ให้เลือก คลิกเลือก Effects
ที่ต้องการ แล้วกด Add ตอบ OK
     12วิธิการใส่ Video Transitions ระหว่างภาพที่ต้องการตัดต่อ โดยการเลือกที่
VideoTransitions บนหน้าจอ
      13. จากนั้นหน้าจอจะปรากฎ Transitions ให้เลือก Transitions ที่ต้องการให้เม้าล์คลิกแช่ตรง Transitions ที่ต้องการแล้วลากไปวางระหว่างภาพที่จะตัดต่อ
      14. การ Import audio or music (การลงเพลง) โดยการการเลือกไปที่ Manu Import audio or music จากนั้นเลือกไดร์ที่จัดเก็บ File เพลง ตรง Lock In เลือก File เพลงที่ต้องการ แล้วเลือก Import
     15ใช้เม้าล์คลิกลากเพลงที่ต้องการมาวางตรงช่อง Audio Music
     16วิธิการแทรกข้อความบนภาพที่ต้องการตัดต่อโดยการเลือกที่ Manu titles or cardits จากนั้นหน้าจอจะปรากฏรูปแบบให้เลือก ใหเลือกรูปแบบตามที่ต้องการ จากนั้นพิมพ์ข้อความที่ต้องการแทรกลงบนภาพที่ต้องการตัดต่อแล้วไปที่ Manu edit title text เลือกรูปแบบการโชว์ข้อความ จากนั้นให้เลือกไปที่ Manu Change the text font and color เพื่อกำหนดแบบข้อความแบบตัวอักษร/ ขนาดตัวอักษร /สีตัวอักษร ที่ต้องการแทรกลงในภาพที่ตัดต่อเป็นการเสร็จสิ้นการเพิ่มตัวอักษร

การออกแบบและนำเสนอผ่านสื่อโปสเตอร์



โปสเตอร์(Poster)


    โปสเตอร์(Poster) หมายถึง สิ่งพิมพ์ที่ที่เป็นแผ่นเดียวมีขนาดใหญ่หรือเล็กแล้วแต่ผู้จักทำ ใช้ติดตามสถานที่ต่างๆในแนวตั้ง เช่น ผนัง ตู้กระจก เสาไฟฟ้า ฯลฯ มีเนื้อหาสาระเพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าหรือบริการหรืองานอื่นๆที่ต้องการรียกร้องความสนใจ ส่วนใหญ่แล้วนำเสนอเพียงแนวความคิดเดียวเป็นหลักใหญ่ 

ประโยชน์ของโปสเตอร์


      1. โดยส่วนมากจะเป็นเครื่องมือในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นโฆษณาสินค้า/บริการ งานต่างๆ งานดนตรี ภาพยนตร์
      2. เพื่อใช้ในการศึกษานาเสนอสาระใดสารหนึ่ง
      3. เพื่อเป็นสื่อการสอนอธิบายเรื่องราวต่าง ๆ
      4. นาเสนอผลงานทางวิชาการ


ลักษณะของภาพโปสเตอร์ที่ดี

  • รูปแบบต้องสอดคล้องกับเนื้อหาและกลุ่มเป้าหมายที่วางไว้ 
  • มีลักษณะ เด่นชัด มองเห็นสะดุดตา 
  • ข้อความนั้นต้องสั้น กระชับได้ใจความ 
  • รูปภาพเร้าความสนใจ ชวนติดตาม 
  • มีการสื่อความหมายได้ตามวัตถุประสงค์ 
  • แสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์ 
  • มีขนาดใหญ่พอที่จะมองเห็นได้ในระยะไกล 
  • ในเรื่องการนาเสนอต้องมีข้อมูลเพียงเรื่องเดียวและที่สาคัญตรงประเด็น

ส่วนประกอบของโปสเตอร์
  1. ข้อความพาดหัว
  2. รายละเอียด
  3. รูปภาพประกอบ
  4. คำขวัญ/สโลแกนเพื่อจูงใจ/ข้อความลงท้าย
  5. โลโก้ของหน่วยงานเจ้าของโลโก้
  6. อื่นๆ
ขั้นตอนการออกแบบโปสเตอร์
  • ศึกษารายละเอียดและวิเคราะห์ข้อมูลที่จาเป็นที่ต้องการสื่อสาร
  • นำข้อมูลที่ต้องการสื่อสารมาออกแบบร่าง
  • เลือกรูปแบบและการวางผัง (Layout)ที่เหมาะสมกับงาน
  • ทำการวางแบบเลย์เอ้าท์ นำส่วนประกอบต่างๆมาลองวางลงในหน้ากระดาษ เพื่อดูว่ามีมากพอหรือไม่ ต้องการเพิ่มเติมส่วนใด หรือต้องตัดอะไรออก ดูความเข้ากันของส่วนประกอบทั้งหมดโดยใช้องค์ประกอบศิลปะช่วยในการจัด
  • กำหนดลักษณะของส่วนประกอบต่างๆของงานที่เหมาะสม เช่น แบบ ขนาดของตัวอักษรที่ใช้ในส่วนต่าง ๆ ของเนื้อหา
  • การทาต้นฉบับเหมือนพิมพ์ อาร์ตเวิร์ค (artwork)นาแบบร่างที่ลงตัวถูกต้องแล้ว มาทาให้เป็นขนาดเท่าของจริง ทั้งภาพและตัวอักษร ช่องไฟ และงานกราฟิคทุกอย่าง ซึ่งปัจจุบันจะใช้โปรแกรมจัดทาอาร์ตเวิร์คเช่น Adobe Indesign, Illustratorเป็นต้นท
  • ทำการตรวจทาน ดูความถูกต้องของภาษา ความเหมาะสมของรูปภาพ และการจัดวาง
  • แก้ไขรายละเอียดและปรับแต่งขั้นสุดท้าย นำส่งโรงพิมพ์เพื่อทาการจัดพิมพ์ต่อไป
หลักการออกแบบโปสเตอร์
  1. ตัวอักษรต้องตัดกับพื้นหลัง
  2. ไม่ควรใส่ข้อความแน่นหรือมีจานวนมากเกินไป
  3.  ควรคานึงถึงหลักทฤษฎีสีและศิลปะในการออกแบบ
  4.  ควรเว้นระยะขอบประมาณ 0.5 ซ.ม.
  5.  ภาพให้เหมาะสมกับเนื้อหา
  6. หลักการออกแบบโปสเตอร์



    ข้อควรคำนึงในการเลือกกระดาษพิมพ์
    1. งบประมาณ
    2. จำนวนพิมพ์
    3. ระบบของเครื่องพิมพ์
    4. วัตถุประสงค์ในการนำไปใช้
    ข้อมูลในการผลิตงานพิมพ์โปสเตอร์

    1. รูปแบบและรายละเอียดของงานพิมพ์โปสเตอร์งานพิมพ์โปสเตอร์จะมีรูปร่างเป็นกระดาษแผ่นเดียว กระดาษที่ใช้ไม่หนามาก การพิมพ์บนโปสเตอร์จะมีที่พิมพ์เพียงด้านเดียว
    2. ขนาดของงานพิมพ์โปสเตอร์ขนาด 15”x 21”, 10.25”x 15”17”x 23.5”(A2), 11.75”x 17”(A3), 8.25”x 11.75”(A4)สาหรับขนาดอื่นที่มิได้กล่าวไว้ อาจทาให้มีการเสียเศษแผ่นพิมพ์
    3. กระดาษที่ใช้สาหรับงานพิมพ์โปสเตอร์กระดาษปอนด์ 100 แกรมขึ้นไปกระดาษอาร์ตมัน/ด้าน 120 แกรมขึ้นไป
    4. การพิมพ์และตกแต่งผิวบนของงานพิมพ์โปสเตอร์ มีการพิมพ์โปสเตอร์แบบ 1 สี 2 สี 3 สี 4 สี หรือมากกว่า จะใช้แม่สี 4 สี (CMYK) หรือสีพิเศษก็ได้ มักพิมพ์ด้วยระบบออฟเซ็ท ระบบอิ้งค์เจ็ทหรือระบบดิจิตอล พิมพ์หน้าเดียวสามารถพิมพ์โปสเตอร์เคลือบ UVเคลือบพลาสติกเงา หรือเคลือบพลาสติกด้าน เคลือบ Spot UVปั๊มนูน (Embossing) ปั๊มทองหรือฟิล์ม/ฟอยล์สีต่าง ๆ (Hot Stamping)
    5. เพิ่มเติมสาหรับงานพิมพ์โปสเตอร์สามารถทาการปั๊มไดคัท (Die-cut) เป็นรูปต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับการออกแบบ
    6. การปรู๊ฟงานพิมพ์โปสเตอร์จากโรงพิมพ์ฯปรู๊ฟจาก Computer Printerหรือผ่าน Fax สำหรับงานสีเดียว หรือ สองสีควรปรู๊ฟแบบ Digital Proofหรือ ปรู๊ฟจากแท่นปรู๊ฟหากเน้นเรื่องสีสันซึ่งจะถูกนำมาใช้เปรียบเทียบกับงานพิมพ์จริง
    7. ระยะเวลาการผลิตงานพิมพ์โปสเตอร์สาหรับโรงพิมพ์ฯส่งมอบภายใน 3 –5 วันหลังจากลูกค้าอนุมัติปรู๊ฟแล้ว

    วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554

    หลักการออกแบบดิจิทัลด้วยสื่อวีดิทัศน์เพื่อการนำเสนอ

    หนังสั้น คือ
        เรื่องที่นำเสนอทั้งภาพแและเสียง และในระยะเวลาอันจำกัด ประมาณ 5-10 นาที โดยสะท้อนเรื่องราวสาระที่เกิดขึ้นและจบลงอย่างรวดเร็ว


    กระบวนการคิด 

    1. เล่าเพราะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับตนเอง
    2. เล่าเพราะเห็นเจอมา
    3. เล่าเพราะจินตนาการ
    จากโครงสร้างเดิมสู่การเป็นบท
    ยึดหลัก3องค์ประกอบ
    1. องค์แรก คือ การปูเรื่อง จนเกิดเหตการณ์พลิกผันกับตัวละคร
    2. องค์ที่ 2 คือ ส่วนกลางเรื่อง เล่าเรื่องที่ปูไปจนสุดจุดหักเหอีกครั้งก่อนจะเข้า climax (ช่วงจบ)
    3. องค์ที่3 คือ บทสรุปของเรื่อง
    ขั้นตอนการผลิตสื่อวีดีทัศน์
         1.ขั้นเตรียมการผลิต
         2.ขั้นตอนการผลิต 
    • สำรวจความต้องการและวิเคราะห์ปัญหา
    • วิเคราะห์เนื้อหาและกำหนดเรื่อง
    • เขียนบทวีดีทัศน์
    • วางแผนการถ่ายทำ
         3.ขั้นหลังการผลิต คือ ขั้นการตัดต่อลำดับภาพ ในขั้นนี้ถือว่าเป็นขั้นสุดท้ายของการผลิต
         4.ชั้นการประเมินผล คือ ต้องนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายจริงจำนวนหนึ่งแล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขตามที่เห็นสมควร
         5.ขั้นเผยแพร่

    วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554

    จิตวิทยากับการออกแบบ& องค์ประกอบของการออกแบบ

      จิตวิทยาสีของการออกแบบและการนำเสนอ
    ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสี


        แม่สี หรือ สีขั้นต้น ประกอบด้วย สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน ที่สีทั้ง3นี้ถือเป็นสีหลัก เพราะเป็นสีที่ไม่สามารถเกิดขึ้นจากการผสมของสีอื่นๆและยังเป็นสีต้นกำเนิดของสีอื่นๆด้วย
        
    ชุดสีร้อน


            ประกอบด้วยสีม่วง แดง แกมม่วง แดง ส้ม เหลือง และเขียวอมเหลือง สีเหล่านี้ สร้างความรู้สึกอบอุ่น   สบาย  ช่วยดึงดูดความสนใจได้ง่าย



     
    ชุดสีเย็น
          ประกอบด้วยสีม่วง น้ำเงิน น้ำเงินอ่อน ฟ้า น้ำเงินแกมเขียว และสีเขียว ให้ความรู้สึกเย็นสบาย


    หลักการพิจารณาเกี่ยวกับการใช้สี
    • ใช้สีสดเพื่อกระตุ้นให้เห็นชัดเจน
    • นึกถึงหลักความเป็นจริง ความถูกต้อง
    • นึกถึงงบประมาณ
    • ใช้สีให้เหมาะกับวัยของผู้บริโภค
    • การใช้สีมากเกินไปอาจทำให้ลดความเด่นของงานและสาระที่นำเสนอ
    • หลีกเลี่ยงการใช้สีพื้นในสิ่งพิมพ์ที่มีพื้นที่ว่างมากๆ เพราะจะขาดความเร้าใจ
    • การใช้สีบนตัวอักษรข้อความต้องชัดเจน อ่านง่าย
    การใช้สีตามหลักการใช้สี
    1. เพื่อให้สีแต่ละสีประสานกลมกลืนกัน
    2. เพื่อให้สีแต่ละสีประสานส่งเสริมซึ่งกัน
    การสร้างความกลมกลืนโดยใช้สีใกล้เคียง
      สีใกล้เคียง หมายถึง สีที่อยู่ใกล้เคียงกันในวงจรสี เรากำหนดสีใกล้เคียง ดดยการยึดสีใดเป็นหลักก่อนแล้วนับไปทางซ้ายหรือขวา หรือทั้ง2ทาง นับรวมกับสีหลักแล้วไม่เกิน4สี

    ข้อแนะนำในการใช้
    1.  ใช้สีใกล้เคียงที่มีความกลมกลืนตามจานวน 4 สีหรือ 3 สี ที่อยู่ในโทนเดียวกัน เช่น โทนร้อนหรือโทนเย็นหรือสีที่มีค่าน้าหนักไม่แตกต่างกันมากนักได้เลย เพราะสีในกลุ่มนี้จะกลมกลืนกันเป็นธรรมชาติอยู่แล้ว ผลงานที่ออกมาจึงกลมกลืนสัมพันธ์กันป็นหน่วยเดียวกัน
    2. หากต้องการใช้สีกลมกลืน ที่ต้องการเน้นจุดเด่น จุดน่าสนใจ ในงานออกแบบนั้น ควรเลือกสีกลมกลืนที่มีบางสีไม่อยู่ในโทนเดียวกัน เช่น มีบางสีอยู่ในโทนร้อนหรือเย็นหรือเป็นสีที่มีค่าน้าหนักแตกต่างและควรให้ใช้สีเหล่านี้ มีปริมาณที่น้อยกว่าสีส่วนรวม
    3. การใช้สีใกล้เคียง ( Relate Colors ) อาจจะดูคล้ายกับการใช้สีเอกรงค์ แต่แตกต่างกันตรงที่ สีรองที่นามาใช้ร่วมกับสีหลักนั้น ใช้ได้ทั้งสีสด และสีหม่น ซึ่งต่างจากการใช้สีเอกรงค์ ที่สีรองนั้นต้องเป็นสีหม่นเสมอ
    การกลับค่าของสี(DISCORD)
             การสร้างความแตกต่างหรือความขัดแย้งที่เหมาะสมได้จังหวะส่งเสริมให้มีสีสันน่าดูขึ้นทั้งนี้เพราะการใชสีกลมกลืนบางครั้งดูจืดชืดเกินไปการสร้างความขัดแย้งในบางจุดทาให้ภาพดูตื่นเต้นขึ้น


    คู่สีตรงข้าม

    โครงสีตรงข้าม คือ การใช้ชุดสีหรือคู่สีที่ตัดกันรุนแรง เป็นสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงจรสีและเป็นสีที่อยู่ต่างวรรณะกัน สีสองสีเมื่อนามาใช้คู่กันจะทาให้สีทั้งสอง มีความสว่าง และสดใสมากขึ้น การใช้สีแบบนี้ให้ความรู้สึกตื่นเต้น มีชีวิตชีวา มีพลังการเคลื่อนไหวและเร้าความสนใจได้ดี อย่างไรก็ตามอาจทาให้ผู้ดูรู้สึกเบื่อได้ง่ายเช่นกัน สีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงจรสี มีทั้งหมด 6 คู่ คือ
    1. สีเหลือง กับ สีม่วง
    2. สีเขียว กับ สีแดง
    3. สีส้ม กับ สีน้าเงิน
    4. สีเขียวเหลือง กับ สีม่วงแดง
    5. สีเขียวน้าเงิน กับ สีส้มแดง
    6. สีส้มเหลือง กับ สีม่วงน้าเงิน




    องค์ประกอบในการออกแบบสื่อสร้างสรรค์

    จุด (Point)
        จะเป็นจุดที่ชี้ให้เห็น ตาแหน่งในที่ว่าง หรือที่ต่างๆ ไม่มีความกว้าง ความยาวความลึก จุดให้ความรู้สึกคงที่ ไม่มีทิศทาง ไม่ครอบคลุมพื้นที่ จุดจะเกิดอยู่ในบริเวณต่างๆดังเช่น จุด A จุด B 

    เส้น (Line)
          เส้นเกิดจากการนาจุดหลาย ๆ จุดมาเรียงต่อกัน หรือเกิดจากจุดเคลื่อนที่ เส้นทางที่จุดเคลื่อนที่ไปคือ เส้น มีความยาว ไม่มีความกว้างหรือความหนามาก การกาหนดทิศทางของเส้นให้อยู่ในแนวที่ต่างกัน จะให้ความรู้สึกที่ต่างกัน ดูมั่นคง บางครั้งดูเคลื่อนไหว และเจริญงอกงาม เติบโต เช่น
    • เส้นตั้ง (Vertical Line) ให้ความรู้สึกสูงสง่า แข็งแรง มั่นคง ถ้าสูงมาก ๆ ก็จะให้ความ รู้สึกไม่ปลอดภัย แต่จะบอกความเติบโต ถ้านามาประยุกต์ในการแต่งกาย โดยใส่เสื้อ ลายแนวเส้นตั้งฉาก แนวดิ่ง จะช่วยให้ดูสูงขึ้น และถ้าออกแบบให้ดูผอมลง อาจใช้เพียง2-3 เส้น
    • เส้นนอน (Horizontal Line) ให้ความรู้สึกสงบ ราบเรียบ แน่นอน มั่นคง ปลอดภัย ความนิ่ง พักผ่อนเป็นธรรมชาติ
    • เส้นเฉียง (Oblique Line) ให้ความรู้สึกไม่มั่นคงไม่ปลอดภัย ตื่นต้น สนุกสนานแสดงการเคลื่อนที่ ไม่อยู่นิ่ง
    • เส้นโค้ง (Curve) จะให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว นุ่มนวล อ่อนหวาน เชื่องช้า กระชับและเป็นอันหนึ่งอันเดียว
    • เส้นกระจาย เป็นเส้นที่ออกจากจุดศูนย์กลางให้ความรู้สึก มีพลังกระปรี้กระเปร่า สร้างสรรค์ เดินทางออกไปทุกทิศพร้อมๆกัน พองออก แตกตัว
    • เส้นลักษณะอื่นๆ เช่น เส้นหยัก เส้นประ เส้นจุดผสมเส้นประ ต่างก็ให้ความรู้แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า จะนาไปประกอบกับรูปอะไร    
    ทิศทาง (DIRECTION)
             ทิศทาง คือ ลักษณะที่แสดงให้รู้ว่า รูปแบบทั้งหมดมีแนวโน้มไปทางใด ทาให้ผู้พบเห็นเกิดความรู้สึกว่า มีการเคลื่อนไหว (Movement) นาไปสู่จุดสนใจ

    รูปทรง (FORM)
               เกิดจากระนาบที่ปิดล้อมกันทาให้เกิดปริมาตร (Volume) มี 3 มิติ คือ ความกว้าง ความยาว และความสูง แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ รูปทรงเรขาคณิตและรูปทรงธรรมชาติ

    รูปทรงเรขาคณิต ( Geometric Form ) เป็นรูปทรงที่มีด้านแต่ละด้านคล้ายกัน มีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นระเบียบ มีแกนที่สมดุล มักจะประกอบด้วยเส้นตรงและเส้นโค้ง ที่มีแบบแผน


    รูปทรงธรรมชาติ ( Original Form) มักจะประกอบด้วยเส้นโค้ง (Curves) เส้นอิสระ ทั้งอยู่ในลักษณะสมดุลและไม่สมดุล รูปทรงธรรมชาติจะให้ความรู้สึกอ่อนไหว

    รูปทรงอิสระ (Free Form) รูปด้านแต่ละด้านมักจะไม่สัมพันธ์กัน ไม่มีความสมดุล ไม่เป็นระเบียบ ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหวได้

    เทคนิคการกลับพื้นภาพมีผลต่อสายตาผู้ดู
               จากการออกแบบกลับพื้นภาพ ทาให้เกิดการสร้างสรรค์งาน เป็นสัญลักษณ์ (Logo) และเป็นที่นิยม เพราะมีความแปลกใหม่ น่าสนใจ นอกจากนี้ยังมีผลของการมองเห็นว่า ภาพสีขาวที่อยู่ในพื้นสีดา จะทาให้ดูโตขึ้น 10-15 % สังเกตภาพตัวอักษร A ในข้อที่ 6 ตัวอักษรดาและขาวโตเท่ากันในการทาต้นแบบ เมื่อตัว A อีกตัวหนึ่งไปอยู่ในพื้นดาทาให้ดูโตกว่า เทคนิคนี้นิยมนาไปใช้ทาตัวอักษรพาดหัวข่าวสาคัญในหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์

    ขนาดและสัดส่วน (Size & Scale)
    ขนาด(Size) คือ การเปรียบเทียบรูปร่างหรือรูปทรง การวัดสัดส่วน ระยะหรือขอบเขต

    ของรูปร่างนั้นๆ


    สัดส่วน คือ ความเหมาะสมของสิ่งของตั้งแต่ 2 สิ่งขึ้นไป มีความสัมพันธ์กัน
    การหาความสัมพันธ์ของขนาดและสัดส่วนในการออกแบบต้องคานึงถึงขนาดและสัดส่วนของผู้ใช้และกิจกรรมภายในเป็นหลัก


    วัสดุและพื้นผิว ( Material and Texture )
             วัสดุ คือ วัตถุดิบที่จะนามาใช้ในการออกแบบ โดยเลือกความเหมาะสม ตรงตามลักษณะของงาน ถ้าทาลงบนกระดาษวาดเขียน อาจเป็นรูปลอกลวดลายต่างๆแบบทึบแสง ถ้าทาลงบนแผ่นโปร่งใสก็ใช้รูปหรืออักษรลอกแบบสีโปร่งแสง เป็นต้น

             พื้นผิว คือ ลักษณะเฉพาะ ที่เกิดจากโครงสร้างของวัสดุ อาจนาวัตถุดิบหลาย ๆ อย่างมา สร้างให้เกิดพื้นผิวใหม่ หรือความรู้สึกในการแยก จาแนกความเรียบความขรุขระ ความแตกต่างของพื้นผิวในทางกราฟิก สามารถแยกออกได้ด้วยประสาทสัมผัส ทางตา เป็นส่วนใหญ่ พื้นผิวที่แตกต่างกันจะให้ความรู้สึกต่างกัน
           ผิวขรุขระ ให้ความรู้สึกปลอดภัย มั่นคง แข็งแรง สาก สะดุด หยาบ ระคายเคือง ในบางสถานะทาให้ดูเล็กกว่า ความจริง เช่น ผิวขรุขระของกาแพงที่ก่อด้วยศิลาแลงหรือหิน กาบ จะดูแข็งแรงบึกบึน ในการสร้างงานกราฟิกลงบนกระดาษ เช่น รูปหลังคาบ้านลายสังกะสี กระเบื้องลอนแบบต่างๆ ผนังตึก ซึ่งลวดลาย ขรุขระ เหล่านี้จะนามาจากแผ่นรูปลอก ซึ่งใน ปัจจุบันใช้ลวดลายสาเร็จรูปจากคอมพิวเตอร์
          ผิวเรียบมัน ให้ความรู้สึกไม่มั่นคง ลื่น หรูหรา วาบหวาม สดใส แสงสะท้อน ในบางสถานะทาให้ดูใหญ่กว่าปกติ เช่น ผนังตึกที่ฉาบปูนเรียบหรืออาคารที่เป็นกระจกทั้งหลัง จะดูเปราะบาง แวววาว ตัวอย่างงานกราฟิกที่ต้องการความเป็นมันวาว ที่ใช้เทคนิคแผ่นรูปลอกที่มีลายไล่โทนสาเร็จรูป

     ระนาบ (Plane)
            ระนาบ คือ เส้นที่ขยายออกไปในทางเดียวกัน จนเกิดเป็นพื้นที่ขึ้นมา แบ่งได้ดังนี้
    1. Overhead plane ระนาบที่อยู่เหนือศีรษะอยู่ข้างบน ให้ความรู้สึกปลอดภัย เหมือนมีหลังคาคลุม มีสิ่งปกป้องจากด้านบน
    2. Vertical plane ระนาบแนวตั้ง หรือตัวปิดล้อม เป็นส่วนบอกขอบเขตที่ว่าง ตามแนวนอน ความกว้าง ความยาว
    3. Base plane ระนาบพื้น ระดับดิน หรือระดับเสมอสายตา อาจมีการเปลี่ยนหรือเล่นระดับเพื่อให้เกิดความรู้สึกต่างๆ

    การจัดองค์ประกอบ(Composition)
      ความสมดุล (Balance) คือ ความเท่ากันหรือเท่าเทียมกันทั้งสองข้าง แบ่งออกเป็น
    •  สมดุลแบบทั้ง 2 ข้างเหมือนกัน (Symmetrical balance) ทั้งซ้ายขวาเหมือนกัน การสมดุลแบบนี้จะทาให้ดูมั่นคงหนักแน่น ยุติธรรม เช่น งานราชการ ใบวุฒิบัตร ประกาศนียบัตร การถ่ายรูปติดบัตรเป็นต้น
    • สมดุลแบบ 2 ข้างไม่เหมือนกัน (Asymmetrical balance) ด้านซ้ายและขวาจะไม่เหมือนกัน แต่มองดูแล้วเท่ากันด้วยน้าหนักทางสายตา เช่น สมดุลด้วยน้าหนักและขนาดของรูปทรง ด้วยจุดสนใจ ด้วยจานวนด้วยความแตกต่างของรายละเอียด ด้วยค่าความเข้ม-จางของสี เป็นต้น                                
    การเน้นให้เกิดจุดเด่น (Emphasis)
           ในการออกแบบจะประกอบด้วยจุดสาคัญหรือส่วนประธานในภาพ จุดรองลงมาหรือส่วนรองประธาน ส่วนประกอบหรือพวกรายละเอียดปลีกย่อย ต่างๆ
    จิตวิทยากับการออกแบบและการนาเสนอ 

    หลักและวิธีในการใช้การเน้น
         -เน้นด้วยการใช้หลักเรื่อง Contrast
         -เน้นด้วยการประดับ
         -เน้นด้วยการจัดกลุ่มในส่วนที่ต้องการเน้น
         -เน้นด้วยการใช้สี
         -เน้นด้วยขนาด
         -เน้นด้วยการทาจุดรวมสายตา

    เอกภาพ (Unity)  ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เป็นกลุ่มเป็นก้อน โดยที่องค์ประกอบภายในต้องกลมกลืนกันมี 2 แบบคือ
    เอกภาพแบบหยุดนิ่ง (Static unity) โดยใช้รูปทรงเรขาคณิตทาให้เกิดลักษณะหนักแน่น
    จิตวิทยากับการออกแบบและการนาเสนอ
    เอกภาพแบบเคลื่อนไหว (Dynamic unity) ใช้รูปทรงหรือรูปร่างแบบธรรมชาติทาให้เคลื่อนไหวสนุกสนาน

    ความกลมกลืน (Harmony) การจัดองค์ประกอบที่ใกล้เคียงกันหรือคล้าย ๆ กันมาจัดภาพทาให้เกิดความนุ่มนวลกลมกลืนกันมี 3 แบบ คือ
    1 กลมกลืนในด้านประโยชน์ใช้สอย คือ ทำให้เป็นชุดเดียวกัน 
    2 กลมกลืนในความหมาย เช่น การออกแบบเครื่องหมายการค้า& โลโก้ 
    3 กลมกลืนในองค์ประกอบ ได้แก่
        3.1 กลมกลืนด้วยเส้น-ทิศทาง
        3.2 กลมกลืนด้วยรูปทรง-รูปร่าง
        3.3 กลมกลืนด้วยวัสดุ
        3.4 พื้นผิว
        3.5 กลมกลืนด้วยสี มักใช้โทรสีที่ใกล้กัน
        3.6 กลมกลืนด้วยขนาด-สัดส่วน
        3.7 กลมกลืนด้วยน้าหนัก

    ความขัดแย้ง (Contrast)
              การจัดองค์ประกอบให้เกิดความแตกต่างเพื่อดึงดูดความสนใจหรือให้เกิดความสนุกตื่นเต้น         น่าสนใจ ลดความเรียบ น่าเบื่อ ให้ความรู้สึกฝืนใจ ขัดใจ แต่ชวนมอง


    วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554

    การออกแบบ Power Point

    ทำไมต้อง Power Point ?


    1. แก้ไขข้อความได้ง่าย

    2. ภาพที่ออกมาคมชัด

    3. ง่ายต่อการควบคุมการเปลี่ยนสไลด์

    4. เพิ่มภาพประกอบได้

    5. ใส่ภาพเคลื่อนไหวประกอบเสียงได้

    6. พิมพ์ออกเพื่อเตรียมนตัวนำเสนอ                                                                                               

    การใช้ตัวอักษรประกอบ
    • ใช้ข้อความแทนประโยค
    • มีข้อมูลมาก ควรจัดให้เป็นหัวข้อ
    • ใช้ Key word เพื่อเพิ่มจุดสนใจ
    การใช้ภาพประกอบ
    1.     ภาพที่ใช้ต้องช่วยเสริมข้อความที่เสนอ
    2.     ไม่ควรมีอักษรในภาพ ถ้าไม่จำเป็น
    3.     ตัวอักษรที่ใช้ควรให้เงาเพื่อเพิ่มความชัด
    4.     ลดสิ่งที่ทาให้เกิดความยุ่งเหยิง
    5.     ภาพที่ใช้อาจทาให้ขนาดของแฟ้มข้อมูลใหญ่เกินไป

    สีและตัวอักษร 
    • พื้นมืดตัวอักษรสว่าง
    • เงาของตัวอักษรต้องมืดกว่าสีพื้น
    • ตัวอักษรต้องอ่านง่าย
    • ชนิดตัวอักษร True Type Font
    • ใช้ 1 หรือ 2 ชนิดของตัวอักษร
    • ขนาด 36 –60 point + ตัวหนา
    • ตัวอักษรตัดขอบไม่ควรใช้
    • เนื้อหาต้องไม่แน่นจนเกินไปสูงสุด 8 บรรทัดต่อ 1 สไลด์
    • หลีกเลี่ยงการใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด (อังกฤษ)
    สรุปการออกแบบPower Point
         •มีหัวเรื่องทุกสไลด์
         •ใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่ และหลายรูปแบบ
         •สีและรูปแบบตัวอักษรไม่ควรมากเกินไป
         •พื้นหรือ Background ไม่ควรยุ่งเหยิง
         •หัวข้อย่อยไม่ควรมากกว่า 6 หัวข้อต่อสไลด์
         •ลำดับความสำคัญของหัวข้อย่อย
         •ใช้กราฟเมื่อต้องการเปรียบเทียบ ดูแนวโน้ม และ แสดงความสัมพันธ์
         •ใช้ภาพประกอบเมื่อจำเป็น
         •ควรเว้นช่องไฟให้เหมาะสม
         •เพิ่มข้อมูลที่ขาดหายไปเมื่อจำเป็น