จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

งานแถลงข่าวเปิดตัวหนังสั้น

งานแถลงข่าวเปิดตัวหนังสั้น 
วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ 2555 
ภาพบรรยากาศ ภายในงาน
















วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมท้ายบทเรียน

                    “บุญคุณไหนไม่เท่าบุญคุณแม่  ที่มีแต่ความรัก
                        ไม่รู้จักเหนื่อยท่านห่วงใยใส่ใจเราทุกเมื่อ”
     ให้นิสิตเขียนค้นหาคำคม หรือสุภาษิต ที่เกี่ยวข้องกับวันแม่ เช่น พระคุณแม่ ทำความดีอย่างไรให้กับแม่ พร้อมเขียนบทความลงในเว็บบล็อกและPrint ส่ง พร้อมนำเสนอในสัปดาห์หน้า ความยาวในการนำเสนอไม่เกิน 2-3 นาที  ตามหลักการพูดเพื่อการนำเสนออย่างสร้างสรรค์


ตอบ   "อย่าปล่อยให้คนแรกที่รักเราเป็นคนสุดท้ายที่เราคิดถึง"
                        คนเรามักจะแสวงหาความรักจากคนอื่นที่เราไม่เคยรู้จัก โดยลืมนึกไปว่าเราได้รับความรักที่บริสุทธิ์ รักทีไม่หวังสิ่งใดจากผู้หญิงคนหนึ่งที่รักเราตั้งแต่ที่เรายังไม่ลืมตาดูโลก คอยทะนุถนอม ดูแลเลี้ยงดู อุ้มท้องเรามาถึง 9 เดือน กว่าที่จะคลอดออกมาเป็นเราในทุกวันนี้ เราเคยนึกย้อนกลับไปบางไหมว่าท่านต้องอดทน เหนื่อยยากเพียงได้ ที่ทำทุกอย่างนี้เพื่อใคร ไม่ใช่เพื่อเราหรือ ? แล้วทำไมเราถึงลืมคนๆนี้ไปได้ คนที่เรารู้สึกรำคาญ คิดว่าเขาจู้จี้ ขี้บ่น สั่งให้เราทำโน่นทำนี้ ยอมเป็นแม่ที่ลูกไม่อยากพูดด้วย แล้วที่ท่านต้องทำอย่างนี้เพื่อใคร แม้เหน็ดเหนื่อยสักเพียงใดก็ไม่เคยบ่นเลยสักคำ ท่านทำทุกอย่างก็เพื่อลูก ลูกคนที่ไม่เคยที่จะคิดถึงท่านเลย…
                        เวลาไม่เคยสายไปสำหรับคนที่ผิดแล้วสำนึกผิด เรามีแม่เพียงคนเดียว รักท่านให้มากๆ อย่าทำให้ท่านต้องเสียใจ เป็นลูกที่ดีของท่าน ทำให้ท่านภูมิใจ ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป จงอย่าปล่อยให้คนแรกที่รักเรามากที่สุด เป็นคนสุดท้ายที่เราคิดถึง














การฝึกพูดในที่สาธารณะเพื่อการนำเสนออย่างสร้างสรรค์

ทำไมต้องเรียนรู้  การพูดเพื่อการนำเสนออย่างสร้างสรรค์  
-รู้จักการสื่อสารด้วยคำพูดที่ถูกต้อง
-เตรียมตัวเป็นผู้นำ
-ส่งเสริมประชาธิปไตย
-สร้างมนุษยสัมพันธ์
-พัฒนาบุคลิกภาพ


5  พลังสร้างความสำเร็จ
พลังแห่งความคิด  
                 “จงคิดทุกคำที่พูด อย่าพูดทุกคำที่คิด”
              “หากพูดทุกคนที่คิด  จะติดคุกทุกครั้งที่พูด”


พลังแห่งการกระทำ
                         “คนเราต้องทำตามที่พูด”
                        “พูดก่อนทำ  หรือทำก่อนพูด”


พลังแห่งมนุษยสัมพันธ์
                                        “นกไม่มีขน  คนไม่มีเพื่อน สู่ที่สูงไม่ได้”

พลังแห่งบุคลิกภาพ


พลังแห่งการพูด


แนวคิดพื้นฐานการพูดในที่สาธารณะ

-คนทุกคนย่อมพูดได้
-การพูดเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
-นักพูดที่ดีไม่จำเป็นต้องมีพรสวรรค์
-ในโลกนี้ไม่มีใครเก่งจนไม่มีทางที่จะปรับปรุงให้ดีขึ้นได้อีก
-การฝึกพูดจะเป็นผลดีต่อบุคลิกภาพทั้งภายในและภายนอก

ลักษณะของการพูด(General Types of Speech)
     แบบจูงใจ  หรือชักชวน (Persuasive Speech)
    แบบบอกเล่า หรือ บรรยาย (Informative or Instructive Speech)
    แบบบันเทิง (Recreative Speech)


การพูดมีกี่วิธี?
1.วิธีแบบพูดท่องจำ
2.วิธีพูดแบบอ่านจากร่าง หรือต้นฉบับ
3.วิธีพูดแบบพูดจากความเข้าใจหรือจดเฉพาะหัวข้อ
4.วิธีพูดแบบกะทันหัน



ทฤษฎีการพูด 3 สบาย
"ฟังสบายหู ดูสบายตา พาสบายใจ"







แบบฝึกหัดการแต่งกาย ให้ตอบคาถามลงใน Weblog และ Print ส่งในวันเรียนสัปดาห์ถัดไป

1. ประโยคที่ว่า “บุคลิกดีมีชัยไปกว่าครึ่ง” นิสิตเห็นด้วยหรือไม่
จงให้เหตุผล Weblog
ตอบ เห็นด้วย เพราะ คนเราสามารถทำให้ตัวเองดูดีได้ การที่เรามีบุคลิกภาพที่ดีจะทำให้เรามีการพัฒนาตนเอง เพราะในชีวิตประจำวันของเราต้องมีการพบปะ พูดคุยกับคนทุกเพศทุกวัย การมีบุคลิกภาพที่ดีสามารถบอกถึงนิสัย หน้าที่การงานที่เราทำอยู่ ทำให้ผู้ที่พบเห็นมีความเชื่อถือ ไว้วางใจ ซึ่งการมีบุคลิกภาพที่ดีนั้นสามารถเริ่มได้จาก การแต่งกาย การพูด การเดิน การยืน การนั่ง ฝึกฝนให้ตัวเองมีความเชื่อมั่นในตนเอง การมีบุคลิกภาพที่ดีไม่จำเป็นต้องมีบุคลิกภาพเหมือนคนอื่น เราควรมีบุคลิกภาพเป็นของตัวเอง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมีเอกลักษณ์แต่บุคลิกภาพนั้นต้องเป็นบุคลิกภาพที่สังคมยอมรับและไม่ทำให้ตนเองสูญเสียความมั่นใจ



2. ถ้านิสิตเป็นคนมีรูปร่างอ้วนควรแต่งกายอย่างไร พร้อมภาพประกอบ ลงใน Weblog
ตอบ  1.  เสื้อผ้าคนอ้วนที่ตัดจากผ้าสีเข้ม เสื้อผ้าคนอ้วนสีเข้มเหล่านี้จะช่วยทำให้สาวรูปร่างอ้วนดูผอมเพรียวกว่าเดิมได้ อันนี้เป็นหลักคลาสสิคที่สาวรูปร่างอ้วนทั้งหลายมักจะรู้และเลือกหาเพื่อซื้อเสื้อผ้าคนรูปร่างอ้วนสีเข้ม ๆ กันอยู่แล้ว
          2.  สาวรูปร่างอ้วน หากต้องการปกปิดสัดส่วนตรงไหน ไม่อยากให้เป็นจุดเด่นเน้นสายตา ควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าคนอ้วนหรือเสื้อผ้าไซส์ใหญ่ ที่เป็นผ้ามัน ๆ เด็ดขาด
         3.  สาวรูปร่างอ้วนที่มีสะโพกใหญ่ ควรหากระโปรงคนอ้วนหรือชุดแซกแบบกระโปรงคนอ้วนที่เป็นทรงเอดีกว่า จะช่วยพรางสะโพกได้ดี
        4.  ถ้ารู้ว่ามีช่วงขาอ้วนจนเป็นส่วนเกิน ให้เลือกกระโปรงคนอ้วนทรงเอ ที่ยาวปกปิดได้
        5.  ถ้าอยากใส่เสื้อผ้าคนอ้วนแล้วทำให้เราดูดีแบบคลาสสิค ควรใส่เสื้อผ้าคนอ้วนแบบสีเดียวหรือโทนใกล้เคียงกัน ดีกว่าใส่หลากสี
        6.  เข็มขัดเป็นส่วนประกอบหรือเป็นเครื่องประดับเหมาะกับเสื้อผ้าคนอ้วนที่เราเลือกใส่ให้ได้เหมือนกัน  อาจเลือกคาดเข็มขัดเส้นเล็ก ๆ ต่ำ ๆ ใต้สะโพก จะช่วยทำให้ไม่เน้นช่วงท้อง
        7.  หากต้องการให้ดูรูปร่างเพรียวหรือสูงขึ้น อาจใส่รองเท้าคนอ้วนแบบส้นสูง กับเสื้อผ้าคนอ้วนประเภทเสื้อสูท
        8. เนื้อผ้าแบบใส่สบายเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สาวรูปร่างอ้วนชอบเลือกใส่เสื้อผ้าคนอ้วนที่มีเนื้อผ้าแบบนี้มากกว่าเนื้อผ้าแบบหนา ๆ
       9. หากไม่ต้องการให้เราดูพองฟู ควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าคนอ้วนแบบที่มีระบายฟูฟ่อง 

หรือลูกไม้ห้อยระย้า
      10. เสื้อผ้าคนอ้วนที่มีสีโทนพาสเทลแนวหวาน ควรหลีกเลี่ยง
      11.การเลือกเสื้อผ้าคนอ้วนประเภทกางเกง ควรหลีกเลี่ยง อย่าเลือกกางเกงแฟชั่นคนอ้วนที่มีกระเป๋ามาก หรือหลายใบ หรือมีที่ด้านหลังจะยิ่งทำให้ดูพองมากขึ้น
 




4. ถ้านิสิตได้รับมอบหมายให้แต่งกายในวันเปิดตัวแถลงข่าววีดิทัศน์หนังสั้น นิสิตจะแต่งกายอย่างไร
ตอบ   ในฐานะนิสิต ใส่เครื่องแบบนิสิตนักศึกษา ถูกระเบียบ เพราะว่า เครื่องแบบนักศึกษาเป็นเครื่องแบบอันทรงเกียรติบอกถึงเอกลักษณ์ ดูมีความสุภาพ สะอาด เรียบร้อย ถือเป็นความภาคภูมิในความเป็นปัญญาชนได้เป็นอย่างดี






บุคลิกภาพในการนำเสนอ

บุคลิกภาพขณะนำเสนอ
             บุคลิกภาพขณะนำเสนอ คือ สภาวะทุกอย่างของผู้นำเสนอ ทั้งสภาวะทางกายและจิตใจ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการกระทำในระหว่างการนำเสนอ บุคลิกภาพที่ดีเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เรามั่นใจในขณะพูด และทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกประทับใจ และสนใจติดตามฟัง โดยไม่รู้สึกเบื่อหรือง่วงนอนก่อนที่เราจะพูดจบ


บุคลิกภาพที่ดีในการนาเสนอนั้นประกอบด้วย


  • การแต่งกาย
  • การใช้ภาษา
  • การใช้เสียง/จังหวะการพูด
  • การแสดงออกที่เหมาะสม
การแต่งกาย(Dressing)
     การแต่งกายเป็นจุดแรกที่ดึงดูดสายตาผู้คน เครื่องแต่งกายเป็นตัวบ่งบอกถึงบุคลิก นิสัย ความเป็นมืออาชีพ อีกทั้งทาให้ผู้ฟังรู้สึกประทับใจ ก่อให้เกิดทัศนคติที่ดีอยากติดตามฟัง


เทคนิคการแต่งกาย
    ผม 
- เล็บตัดสั้น ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย

   เครื่องประดับ
 - ควรมีแต่พอเหมาะ

   เสื้อผ้า
- แต่งกายให้สะอาด สุภาพ เรียบร้อย สีที่เรียบ ไม่ฉูดฉาด
- แต่งกายให้เหมาะสมกับกาลเทศะและสถานที่
- ไม่ควรใส่กระโปรงยาวหรือสั้นเกินไป(สาหรับสุภาพสตรี)

การใช้ภาษา
  • ใช้ภาษาให้เหมาะกับกลุ่มผู้ฟัง
  • ภาษาที่ใช้ต้องมีความชัดเจน
  • ใช้ภาษาที่สุภาพ อักขระถูกต้อง และเข้าใจง่าย
  • กะทัดรัดได้ใจความ ไม่ใช้คาฟุ่มเฟือยมีลาดับขั้นตอนการนาเสนอ อธิบายเป็นเหตุ - ผล สอดคล้องกัน
  • พยายามเลี่ยงศัพท์เทคนิคที่ไม่จาเป็น ถ้าจาเป็นควรขยายความ
  • ไม่พูดคาติดปาก เช่น เอ้อ อ้า แบบว่า เป็นต้น
การใช้เสียง/จังหวะการพูด
  • เป็นธรรมชาติ ไม่ทุ่มหรือแหลมจนเกินไป
  • พูดด้วยความเร็วที่เหมาะสม ไม่เร็วหรือช้าจนเกินไป
  • พูดให้ดังและชัดเจน ไม่ใช้ระดับเสียงเดียวรู้จักการใช้เสียงสูง –ต่า ในการเน้นความหมายอย่างเหมาะสม
  • เว้นวรรคคาให้ถูกต้อง
  • ควรหยุดในบางจังหวะการพูด                                                                                                              -เพื่อให้เวลาผู้ฟังในการจับประเด็นได้ทัน                                                                                                    -เพื่อให้เวลาผู้ฟังในการทาความเข้าใจเนื้อหาที่เราพูด
การแสดงออกที่เหมาะสม
การใช้สายตา (Eye Contact)
ภาษากาย (Body Language)

“การนาเสนอ ถึงแม้เนื้อหาสาระจะดีเพียงใด
หากมีการแสดงออกที่ไม่เหมาะสมอาจทาให้งานเสนอนั้นๆ หมดคุณค่าได้”

การพูดในที่สาธารณะ

1.การในการพูด สร้างบุคลิกภาพที่ดี
    1.1 ด้านภาพลักษณ์
            แต่งกายถูกกาลเทศะ อากัปกริยากระตือรือร้น ไม่ลุกลี้ลุกลน ใบหน้าเบิกบานแจ่มใส มองผู้อื่นอย่างเป็นมิตร มีอัธยาศัยอี ต้อนรับขับสู้ มีความทรงจาดี

    1.2 ด้านการพูด

- มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพูด เช่น การทักทายที่ประชุม
- พูดให้สละสลวย มีความเชื่อมโยง แต่ไม่ใช้คาฟุ่มเฟือย
- ไม่พูดวกวน
- ไม่พูดด้วยท่าทีเคร่งเครียด
- อาจมีมุกตลก / ลูกเล่นแทรก
- ไม่เพ้อเจอเกินไป
- พูดให้น้าเสียงเป็นธรรมชาติ


    1.3 ด้านปฏิภาณไหวพริบและด้านจิตใจ

- มีปฏิภาณไหวพริบและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
- จิตใจสุขุมเยือกเย็น
- ควบคุมอารมณ์ได้ดี มีสมาธิดี
 
2. การเตรียมตัวก่อนการพูด
    2.1 เตรียมเนื้อหา   ต้องมีความรู้ในเรื่องที่จะพูดอย่างดี โดยการค้นคว้าและการเตรียมเนื้อหาให้แม่นยา ครบถ้วน
    2.2 ฝึกซ้อม   ต้องซ้อมหน้ากระจกในการวางท่าทาง การพูดในเนื้อหานั้นจนคล่องปาก ไม่มีลักษณะ เป็นการท่องจา พร้อมนับเวลาให้พอดี
    2.3 การเตรียมใจ  สร้างความมั่นใจ ถ้าประหม่าให้สูดลมหายใจเข้าลึก ๆ
 
3. การใช้ไมโครโฟน (ไมค์)
    3.1 การจัดเตรียม
ไมค์  
    3.2 วิธีการจัด
ไมค์
ที่ถูกต้องในการพูด

4. การวางท่าทางขณะพูด
    4.1 กรณีที่ยืนตรง  ไม่กางขามากเกินไปปลายเท้าแบะออกนิดหน่อย ให้อยู่ในท่าที่มั่นคง เก็บพุง ไม่กุมเข็มขัด ไม่กุมเป้า ไม่กอดหน้าอก ตาแหน่งที่ยืนตรงกลางเวที อย่าหลบมุม หันหน้าเข้าหาผู้ฟัง ไม่มองเพดาน ไม่เกา ไม่หาว ไม่ชี้หน้าผู้ฟัง (ใช้การผายมือแทน)
    4.2 การวางมือ  กรณีไมค์มีขาตั้ง ไม่ต้องใช้มือกุมไมค์อีก ไม่ล้วงกระเป๋า ถ้านั่งให้วางมือ บนหน้าตัก ปล่อยแขนลงธรรมดา หรือวางมือประสานกัน
    4.3 กวาดสายตาไปทั่วห้อง   สบตาผู้ฟัง แต่อย่าจ้อง เพื่อไม่ให้เสียสมาธิ ใบหน้า ยิ้มละไมตลอดเวลา
 
5. เทคนิคการสร้างความสนใจจากผู้ฟัง
    5.1 การสร้าง
ความคุ้นเคยกบั ผู้ฟัง
    5.2 การตั้งคำถามกับผู้ฟัง
    5.3 ควรมีการยกตัวอย่าง
    5.4 พูด ด้วยน้ำเสียงสูง ต่ำ
    5.5 มีการสอดแทรกมุกตลก
    5.6 มีการนำเสนอแบบหักมุม
    5.7 การใช้กิจกรรมที่ให้ผู้ฟังมีส่วนร่วม


6. เทคนิคการแนะนำประวัติวิทยากร
    6.1 กล่าวถึงความสำคัญของเนื้อหา
    6.2 กล่าวถึงความสำคัญของวิทยากร
    6.3 กล่าวถึงลักษณะเด่น
    6.4 กล่าวถึงประวัติการณ์ศึกษา
    6.5 กล่าวถึงตำแหน่งและชื่อสกุล ของวิทยากร
    6.6 เมื่อวิทยากรบรรยายจบ


7. ขั้นตอนการทำหน้าที่พิธีกรในช่วงพิธีการเปิดประชุม /  ฝึกอบรม
    7.1 ไหว้แนะนำตัว
    7.2 กล่าวถึงความเป็นมา
    7.3 เมื่อประธานมาถึง
    7.4 เมื่อประธานพร้อม

 
เทคนิคการบรรยายให้มีประสิทธิภาพ
    - ตั้งวัตถุประสงค์ของการบรรยาย
    - กำหนดประเด็นของเนื้อหา
    - อธิบายวัตถุประสงค์ของแต่ละประเด็น
    - กำหนดเนื้อหา และตัวอย่างสำคัญของแต่ละประเด็น
    - การบรรยายแบบจูงใจผู้ฟัง
    - การเชื่อมต่อประเด็น
    - การสรุปประเด็น